top of page

กฏหมายเกี่ยวกับด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

  • Writer: wiwat rattanakorn
    wiwat rattanakorn
  • Nov 22, 2018
  • 1 min read

การมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวของมนุษย์ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกิจกรรมประจำวันตั้งแต่ตื่นเช้า การดำเนินกิจกรรม ส่วนตัว ทำอาหารในห้องครัว การเดินทาง การทำงาน อ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์และอีกมากมายที่ต้องใช้สายตามองเพื่อให้เกิดประโยชน์ กับการดำเนินชีวิต การมองเห็นนั้นเกิดจากมีแสงส่องตกกระทบไปที่วัตถุแล้วสะท้อนไปยังตัวรับภาพในดวงตาและส่งข้อมูลไปยังสมอง สมองรับภาพจะจัดเรียงแปลผลข้อมูลและสร้างเป็นภาพให้รู้สึกมองเห็นได้การมองเห็นอย่างชัดเจนถูกต้อง และเกิดความสบาย ควรมีการจัดแสงสว่างให้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานที่ ลักษณะการดำเนินกิจกรรมของตน โดยแสงสว่างต้องมีปริมาณความเข้มข้นแสง ที่เหมาะสม มีคุณภาพสำหรับการมองเห็นที่ดี




อย่างไรก็ตาม ความส่องสว่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใดๆ ยังมี ปัจจัยที่ทำให้ค่าความสว่างลดลงจากแหล่งกำเนิด ได้แก่ระยะห่าง ของแหล่งกำเนิดกับพื้นที่ตกกระทบ สีของห้องหรือเพดาน ลักษณะ ของโคมไฟ ดังนั้นต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ให้ครอบคลุม ก่อนการเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงสว่าง


การจัดการความเข้มของแสงสว่างในการทำงาน กฎกระทรวงแรงงาน กำหนดมาตรฐานในการบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 กำหนดให้สถานประกอบการมีการจัดการให้สถานที่ทำงานมีความ เหมาะสม มีความปลอดภัยในการทำงาน




ทั้งบริเวณทั่วไปในสถาน ประกอบการ บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้าง ทำงาน บริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน บริเวณรอบๆ สถานที่ ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด บริเวณที่กำหนดดัง กล่าวต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่าที่กฎกระทรวงกำหนด แต่หากมีความเข้มของแสงสว่างมากจนทำให้เกิดความไม่สบายตา นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการ อื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้แสงตรงหรือแสง สะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสง หรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้าส่องเข้า นัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทำงาน ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามที่กำหนดไว้เช่น แว่นตาลดแสงกระบังหน้าลดแสง ที่ทำด้วย วัสดุสีที่สามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็น อันตรายต่อสายตา ผลกระทบที่เกิดจากแสงสว่างในการทำงาน

การจัดการความเข้มของแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน แสงสว่างที่น้อยหรือมาก เกินไป หรือ แสงจ้า ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป เกิดความเมื่อยล้า กล้ามเนื้อหนังตากระตุก ปวดตา มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ความสามารถในการมองเสื่อมลงเป็นผลให้เกิด อุบัติเหตุในการทำงาน

Comments


bottom of page